วันพุธที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

อธิษฐานบารมี - 2

วิธีการฝากกระแส

1. อาศัยการสร้างรูปธรรม เช่น การสร้างรูปเคารพของครูบาอาจารย์ การสร้างหรือการอธิษฐานจิตประจุในพระเครื่องพระบูชาเพื่อฝากระแสไว้กับพระฯ เพื่อหวังเอาผลบุญกับทุกดวงจิตที่เลื่อมใสหรือเข้ามากราบไหว้ร่วมบุญกับรูปธรรมธาตุที่ตนได้สร้างเอาไว้ รวมไปถึงการสร้างวัดหรือโบสถ์วิหาร ทุกครั้งที่มีผู้เจริญในธรรมมาอาศัยโบสถ์วิหารนั้นสร้างกุศล ผู้สร้างจึงได้ผลบุญด้วย ด้วยเหตุนี้ผลแห่งวิหารทานจึงมากกว่าสังฆทานมากมายนัก เช่นเดียวกับการสร้างหนังสือธรรมมะ เพราะเป็นเหตุแห่งการบรรลุธรรม พ้นจากความทุกข์เข้าสู่พระนิพพาน เหตุนี้ "สรรพทานัง ธรรมะทานัง ชินาติ" การให้ธรรมมะเป็นทานจึงชนะการให้ (วัตถุทาน) ทั้งปวง เป็นต้น


2. อาศัยกำลังจิตจับกับนามธรรมหรือรูปธรรม อย่างการนึกถึงหลวงปู่ดู่ การอธิษฐานฝากตัวเป็นลูกหรือ ฝากตัวเป็นศิษย์ ขอให้ท่านดูแลไปตลอดจนกว่าจะนิพพาน เพื่อการไม่คลาดจากท่าน หรือการไม่คลาดจากความดีแบบท่าน ให้ทุกๆ ชาติได้มีสัมมาทิฐิ หรือย่างสมัยที่มีการทำศึกสงครามอย่างตอนที่ทำการปลุกทัพทำพิธีก่อนออกศึกนั้น ทุกดวงจิตของทหารจะจดจ่ออยู่ที่แม่ทัพนายกองหรือกษัตริย์ ครั้นเมื่อตายลงแล้วเกิดใหม่ จิตที่ปักอยู่ก็จะทำให้ตนเองเข้าใจคลาดเคลื่อนว่าตนคือกษัตริย์พระองค์นั้นกลับชาติมาเกิด แต่ข้อดีก็คือ ท่านผู้นั้นจะมีกำลังมาก(ผลจากอนุโมทนา)และทำอะไรได้คล้ายต้นพลังงาน ซึ่งก็จะเป็นการเร่งรัดบารมีได้แบบหนึ่ง

3. การอนุโมทนา เป็นการเอาจิตเลื่อมใสในคุณความดีของผู้อื่น (อนุแปลว่าตาม โมทนาแปลว่ายินดี) กระแสพลังงานบุญ-คุณความดีจะเข้าสู่ผู้อนุโมทนาหากทรงกำลังใจบริสุทธิ์ผ่องแผ้วจะทำให้ได้ผลบุญนั้นเฉกเช่นผู้กระทำก่อน ถึง 90 ส่วนโดยประมาณ

แต่หากสักแต่ว่ากล่าวอนุโมทนาไป โดยจิตไม่ได้เลื่อมใสศรัทธาในบุญนั้นอย่างแท้จริง ก็จะได้อานิสงส์เพียง 5-10 ส่วนขึ้นไปโดยประมาณ ด้วยเป็นกำลังผลของการขจัดอัตตา และผลของฌานสมาบัติ (ผู้ทรงพรหมวิหาร ย่อมทรงฌานสมาบัติด้วย เนื่องเพราะอารมณ์เป็นหนึ่งเดียวกันหรือไกล้เคียงกันนั่นเอง) และผลจากการทำจิตน้อมในกุศล ผลของกุศลนั้นจึงได้น้อมเข้าใส่ตัวนั่นเอง.....


4. การฝากกำลัง(กระแส) เกิดขึ้นได้ทั้งสองทาง คือ
ผู้มีกำลังมาก ฝากกระแสให้ผู้มีกำลังน้อย อย่างหลวงปู่ทวดฝากกระแสให้กับสาวกหรือพระโพธิสัตว์ที่เกี่ยวข้องกับท่าน ทำให้การบำเพ็ญบารมีของพระโพธิสัตว์หรือสาวกท่านนั้นมีกำลังที่จะสร้างสรรค์อะไรต่อมิอะไรได้มาก แต่หากดูกระแสได้ไม่ลึกพอ จะเข้าใจคลาดได้ว่า ตนคือเจ้าของกระแสที่ฝากมาจริงๆ อย่างกรณีที่มีคนเข้าใจว่าตนคือพระนเรศวร หรือพระศรีย์อาริย์มากมายนั่นเอง

เพื่อการติดตามไม่คลาดจากคุณธรรมของผู้มีกำลังมากกว่า ผลก็คือ เมื่อต้นกระแสทำกุศลเช่นใด ตนเองก็ได้ผลเช่นนั้นด้วย แต่จะมากจะน้อยก็ขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัยหลายตัวด้วยกัน

5. การเสริมกำลังหรือการร่วมกำลัง คล้ายกับข้อที่ 4 ต่างกันที่จุดประสงค์ กล่าวคือ มักจะทำในผู้ที่มีกำลังมากให้แก่ผู้ที่มีกำลังเสมอกันหรือกำลังน้อยกว่า เพื่อให้ท่านเหล่านั้นทำงานได้คล่องขึ้นหรือเกิดผลงานได้มากขึ้น เป็นการช่วยเหลือเกื้อกูลกันของพระโพธิสัตว์ ที่ช่วยให้พระโพธิสัตว์ต่างๆ ด้วยกัน ทำงานได้มากขึ้น หรือมีบารมีเต็มเร็วมากขึ้น....อย่างเช่น เมื่อเห็นพระโพธิสัตว์ท่านใดทำงานอยู่ อย่างการสร้างวัด เราก็อธิษฐานรวมบารมีของทั้งพระฯ และของตนเองอธิษฐานครอบเป็นวิมานแก้วบารมี 10 ทัศให้แก่ท่านนั้น แล้วท่านนั้นก็จะทำงานต่างๆได้ลุล่วงเร็วขึ้น-มากขึ้น ผู้ฝากเองก็ได้กระแสบุญในการนั้นด้วย

มองดูคล้ายอนุโมทนา แต่ตรงนี้ก้าวไปอีกขั้นของอนุโมทนา ตรงนี้ก็คือการทำเมตตาและกรุณาให้บังเกิดขึ้นด้วยกำลังจิต
(พรหมวิหาร 4 ใช้งานในองค์ฌานสมาบัติ) นั่นเอง....

ประโยชน์หรือผลที่ได้จากการฝากกระแส

1. บารมีเต็มเร็วขึ้น ไม่คลาดจากกุศล
2. โอกาสในการตกอบายภูมิน้อยลงหรือไม่มี
3. เข้าถึงความเป็นพระอริยเจ้า หรือพระนิพพานได้โดยง่าย
4. ทำให้ดวงจิตอยู่ในความดีตลอดเวลา
5. งานเพื่อพระศาสนาสามารถสำเร็จลุล่วงได้โดยง่ายหรือเกิดกำลังมากขึ้น

ข้อเสียของการฝากกระแสไม่ถูกทาง
1. หากฝากกระแสผิดทางอาจทำให้หลงอบาย อย่างกรณีผู้ติดตามท่านฮิตเลอร์ ก็เป็นเหตุให้เเล่นไปตามท่านฮิตเลอร์ เป็นต้น
2. การเข้าสู่พระนิพพานอาจช้าลง ในกรณีของผู้ติดตามโดยแท้ (ไม่ละไปตามผู้อื่น) ของพระโพธิสัตว์ผู้ทำบารมีอันยาวนาน แทนที่ท่านนั้นจะได้ไปพระนิพพานเป็นเวลาอันช้านานล่วงมาแล้ว ก็คงต้องรอจนกว่าพระโพธิสัตว์ท่านนั้นจะถึงเวลาลงมาตรัส จึงจะยอมเข้าพระนิพพานโดยสมัครใจ....ซึ่งมูลเหตุนี้เองพระโพธิสัตว์ใหญ่บางท่านจึงได้ถวายพระโพธิญานเป็นพุทธบูชา ลาพุทธภูมิ เพื่อผลต่างๆ มากมายที่จะตามมา....


บทความที่เกี่ยวข้อง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น