วันอังคารที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

อธิษฐานบารมี - 1

การฝากกระแส...ความฉลาดใน อธิษฐานบารมี ตอนที่ 1

ในบรรดาหลักวิชาบารมี ที่นับว่าช่วยย่นย่อการสร้างบารมีให้เต็มบริบูรณ์ได้ดีมากตัวหนึ่ง หากไม่นับปัญญาบารมีแล้ว ก็คงจะหนีไม่พ้น อธิษฐานบารมี ความหมายของอธิษฐานบารมีนั้นแปลว่า "ตั้งตนไว้ให้ตรงโดยเฉพาะ" ซึ่งหมายถึงเมื่อเราค้นพบว่าสิ่งใดอันเป็นสิ่งสูงสุดที่เราพึงปรารถนาก็ให้ทำจิตให้ตรงต่อสิ่งนั้น
เช่น ฝ่ายสาวกภูมิ สิ่งที่พึงปราถนาสูงสุดคือพระนิพพาน ก็ให้อธิษฐานรวมกำลังบุญบารมีทุกอย่างให้เป็นกำลังที่จะตรงต่อพระนิพพาน ในส่วนของพุทธภูมินั้นจุดมุ่งหมายสูงสุดก็คือพระนิพพานเช่นเดียวกัน แต่ต่างกันในประเด็นที่ว่า จุดมุ่งหมายสูงสุดนอกจากพระนิพพานแล้ว ยังคงมุ่งหวัง ปรารถนาที่จะอภิเษกสัมมาสัมโพธิญานตรัสรู้ชอบได้ด้วยตนเอง พร้อมทั้งปราถนาที่จะทำงานรื้อขนสรรพสัตว์เข้าสู่พระนิพพาน ไม่ยินดีที่จะเข้าสู่พระนิพพานโดยลำพัง

การอธิษฐานบารมีนั้นสำคัญมาก ดวงจิตใดที่ฉลาดในการอธิษฐานบารมีจะสามารถย่นย่อเวลาในการก้าวย่างเข้าสู่พระนิพพานได้นับเป็นพันชาติ หรือมากกว่านั้น ทั้งนี้ไม่ว่าจะเป็นในสายพุทธภูมิ หรือสายสาวกภูมิก็ตาม ดังตัวอย่างเมื่อครั้งหนึ่งที่หลวงพ่อพระราชพรหมญานท่านได้กล่าวกับคณะศิษย์ว่า ด้วยเพราะตั้งความปรารถนาว่าจะนิพพานในอนาคตกาลเบื้องหน้า แทนที่จะกล่าวว่าขอนิพพพานในชาตินี้ ทำให้ต้องคั่งค้างเวียนว่ายตายเกิดอีกนับเป็นพันๆ ชาติ ทั้งที่บารมีนั้นเต็มพร้อมที่จะบรรลุความเป็นพระอริยเจ้าได้ ขาดแต่การอธิษฐานทำใจให้ตรงเท่านั้น....

เกี่ยวกับเรื่องของ "การฝากกระแส "

คำว่า "กระแส" นั้นแปลออกมาได้หลายอย่างด้วยกัน อย่างที่หลวงตาม้าท่านบอกว่า คำว่า "กระแส" คำเดียว หมายถึง "ตัวขับเคลื่อนพลังงาน" ดังนั้นหากผู้ใดพอจะเข้าใจเรื่องพลังงาน และเรื่องรูป-นามมาบ้างแล้ว คงพอจะเข้าใจได้ไม่ยาก คำว่ากระแสจึงหมายถึง "คลื่นพลังงานของดวงจิต"

ดังนั้นการฝากกระแสจึงหมายถึง การกำหนดฝากคลื่นพลังงานของจิตของเราเอาไว้กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งไม่ว่าจะเป็นรูปธรรมหรือนามธรรม ทั้งนี้เพื่อประโยชน์มากมายในภายภาคหน้า ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการไม่คลาดเคลื่อนจากความดีคือสัมมาทิฐิ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการได้รับกระแสบุญตลอดเวลากับสิ่งที่เราฝากกระแสเอาไว้ หรืออื่นๆ

องค์ประกอบของการฝากกระแส

1. ต้นกระแส ก็ได้แก่ผู้มีกำลังมาก หรือผู้ที่เรานับถือทั้งหลาย เช่น พระโพธิสัตย์ เทพ-พรหม หรือแม้แต่รูปธรรมที่ไม่มีชีวิต เช่น พระพุทธรูป วัด เจดีย์ พระพุทธบาท

2. ผู้อธิษฐาน ก็คือตัวเรานั่นเอง จะต้องมีกำลังจิตของสมาธิตั้งแต่ขณิกสมาธิเป็นต้นไป ยิ่งใช้กำลังของสมบัติ 8 ด้วยแล้วยิ่งมีกำลังมาก เหมือนการอธิษฐานปกติของเราใช้กำลังอุปจารสมาธิ กว่าจะฝากกระแสได้แนบแน่น ก็อาจจะใช้การอธิษฐานหลายครั้ง แต่หากฉลาดในการอธิษฐานฝากกระแส ก็จะใช้กำลังของสมาบัติเป็นบาทฐาน ถอยหลังมาที่อุปจารสมาธิ หรือทรงฌาน 4-8 แบบใช้งาน แล้วทำการอธิษฐานกระแส กระแสก็จะแนบแน่นยิ่งกว่า การอธิษฐานครั้งเดียวก็มีผล อย่างการอธิษฐานฝากกระแสไว้ที่พระนิพพาน เพื่อที่เวลาสิ้นชีพแล้วกระบวนการทางจิตและกรรมจะมีผลโน้มนำให้ตรงต่อพระนิพพานนั่นเอง ถ้าใช้กำลังของสมาธิอย่างต่ำ หรือถ้าทำไม่เป็นอาจิณกรรมพอ ก็อาจจะคลาดได้หากมีกรรมอื่นๆที่หนักกว่ามาริดรอน

3. กระแสหรือวิธีการฝากกระแส แยกได้เป็น
กระแสตนเองล้วน
ๆ กับ กระแสตนเองบวกกับกระแสครูบาอาจารย์ ...อย่างนี้กำลังจะมากกว่า นี่คือที่มาของบทสัพเพ หรือการกล่าวอ้างคุณพระรัตนตรัยทุกครั้งที่มีการอธิษฐาน และนี่คือเหตุผลหนึ่งที่ว่าทำไมผู้เข้าถึงพระไตรสรรคมณ์แล้ว จึงปิดทางนรกภูมิได้ เว้นแต่ได้กระทำอานันตนิริยกรรมมาก่อนหน้านี้ และเป็นเหตุผลว่าทำไมอารมณ์พระโสดาบันจึงต้องละวิกิกิจฉา คือการลังเลสงสัยในพระรัตนตรัย....

ขอบคุณที่มา : http://www.watthummuangna.com/


บทความที่เกี่ยวข้อง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น