วันจันทร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2553

วันอังคารที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2553

อังคุลิมาละโพชฌังคะปะริตร

อังคุลิมาละโพชฌังคะปะริตร : ป้องกันโรคภัยไข้เจ็บ ให้หายป่วยไข้



ขอบคุณเจ้าของวิดีโอนี้ค่ะ

วันศุกร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2553

วันพฤหัสบดีที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2553

พรหมวิหาร 4

พรหมวิหาร 4 เป็นหลักธรรมประจำใจเพื่อให้ตนดำรงชีวิตได้อย่างประเสริฐและบริสุทธิ์เฉกเช่นพรหม ประกอบด้วยหลักปฏิบัติ 4 ประการ คือ

  1. เมตตา ความปรารถนาอยากให้ผู้อื่นมีความสุข
  2. กรุณา ความปรารถนาอยากให้ผู้อื่นพ้นทุกข์
  3. มุทิตา ความยินดีที่ผู้อื่นมีความสุขในทางที่เป็นกุศล
  4. อุเบกขา การวางจิตเป็นกลาง การมีเมตตา กรุณา มุทิตา เป็นสิ่งที่ดี แต่ถ้าตนไม่สามารถช่วยเหลือผู้นั้นได้ จิตตนจะเป็นทุกข์ ดังนั้น ตนจึงควรวางอุเบกขาทำวางใจให้เป็นกลาง และพิจารณาว่า สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรมที่ได้เคยกระทำไว้ จะดีหรือชั่วก็ตาม กรรมนั้นย่อมส่งผลอย่างยุติธรรมตามที่เขาผู้นั้นได้เคยกระทำไว้อย่างแน่นอน)

วันศุกร์ที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2553

พระแม่ลักษมี




มหาลักษมี ศโลก
โอม...วิษณุ ปริเย นะมัสสะตุภะยัม นะมัสสะตุภะยัม ชัคทะเต อทรัตหันตริ นะมัสสะตุภะยัม สะมฤทะธัม กุรุ เม สะทา นะโม นะมัสเต มะหานะมาเย ศรีปิเฐ มุระปุชิเต ศังขะจักรัคคะทาทัมมะเน มะหาลักษมี นะโมรัสสะเต


ลักษมี คายตรี
โอม...มหาลักษะมะเย จะ วิทัมเห วิษณุ ปะริยาแย ธีมหิ ตันโน ลักมีช ประโจทะยาต

สิทธิ ลักษมี มนต์
โอม...เอม กลีม โสน เอม หรีม ศรีม โอม นะโม ภัคคะวะตี มาตาคีศะวะรี สะระวะชันมะโนหาริณี สะระวะราช วะศัม กรี สะวัมมุขะรัมชะนิ สะระวัสตะโร ปุรุษวะศังกรี สะระวะทุษฏะ มฤควะศังกรี หรีม ศรีม กะโลน เอม โอม


มหาลักษมี มนต์์
โอม...หรีม ศรีม กัมมะเล กัมมะลาละเย ปะระสีท ปะระสีท ศรีม หรีม โอม...มหาลักษมะแย นมัช


ราธา คายตรี
โอม...วฤษภานะชาแย วิทัมเห กฤษณา ปริยาแย ธีมหิ ตันโน ราธา ประโจทะยาต


บทต่อไปเป็นบทสวดที่พราหมณ์โบสถ์เทพมณเฑียรใช้สวดขอพรจากพระแม่ลักษมี
และเป็นการสรรเสริญพระแม่ลักษมีพร้อมพ่อนารายณ์

โอม ศานตาการัม พุธะคะศะยะนัม ปัททะมะนาภัม สุเรศัม วิศาวาธารัม คะคะนะศะธะรึ ศัม เมฆะวัณณัมสุภางค์คัม ลักษมีการตัม กะมะละนะยะนัม วันเท วิษณุม ภะวะภะยะหะรัม ศันเทวะโลกัยกะนาถัม



ขอบคุณที่มา : http://www.missladyboys.com/

วันอังคารที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2553

วันจันทร์ดับ-ภาคพิธีกรรม

ภาคพิธีกรรมขอเงินจันทร์

ภาคพิธีกรรมใน วันขอเงินจากพระจันทร์นั้น ท่านสามารถเริ่มทำพิธีกรรมในเวลาใดก็ได้ตามที่ท่านสะดวก แต่ต้องก่อนและหลังเวลาหลักบวกลบไม่เกิน 12 ชั่วโมงจากเวลาขอเงินจากพระจันทร์ เช่น ในเดือนพฤศจิกายน เวลาขอเงินจากพระจันทร์ คือ เวลา 23.59 น.ก่อนเวลาหลัก 12 ชม. คือตั้งแต่เวลา 12.00 น.เป็นต้นไป หลังเวลาหลัก 12 ชม. ก็ตั้งแต่เวลา 23.59 น.เป็นต้นไป เพราะถือว่าวันนั้นเป็นวันที่ดีตลอดวัน แต่ถ้าจะให้ดีที่สุด ก็ต้องเป็นเวลาหลักที่ผมให้มา ในเรื่องของพิธีกรรมนั้น อันที่จริงแล้ว ในวันนั้น ท่านควรจะไปวัด เพื่อรับศีลจากพระ แต่ถ้าไปไม่ได้ ก็ให้ใช้ห้องพระ หรือพระพุทธรูปประจำบ้านเป็นประธานในการทำสิ่งที่ดีงาม ซึ่งท่านควรเปลี่ยนน้ำในหิ้งพระเสียใหม่ นำดอกไม้ธูปเทียนไปบูชา โดยเฉพาะดอกไม้ที่หอม ๆ หรือตั้งโต๊ะบวงสรวง อันประกอบด้วย ผลไม้ 5-9 อย่าง แล้วจุดธูปเทียนบูชา 15 ดอก ตามกำลังของพระจันทร์

สิ่งที่จะมาเป็นสื่อในการที่จะขอโชคขอลาภจากพระจันทร์ ให้ท่านเตรียมเงิน โดยที่ท่านต้องนำเงินที่เบิกออกมาจากธนาคาร กดออกมาจากเอทีเอ็ม หรือที่เก็บเอาไว้เอาออกมาให้ได้มากที่สุด เก็บใส่กระเป๋าสตางค์ที่ใช้เป็นประจำ และต้องตั้งใจด้วยว่า ในช่วงวันที่เป็นวันพระจันทร์ดับ ภายใน 1-2 วัน ห้ามใช้เงินในส่วนที่เก็บไว้ในกระเป๋านี้ ถ้าต้องใช้ให้แยกส่วนที่จะใช้ในวันนั้นต่างหาก อาจจะไว้ในกระเป๋าเสื้อ กระเป๋ากางเกง ใส่ซอง เพื่อเป็นสิริมงคล และให้นำกระเป๋าที่เก็บเงินเอาไว้ ไปตั้งไว้ในพานหรือไปวางไว้บริเวณหน้าพระพุทธรูป หรือห้องพระประจำบ้าน

วิธีอธิษฐาน ให้ ท่านสมาทานศีล 5 (หาคำสวดได้ในหนังสือสวดมนต์) ในวิธีการตรงนี้แหละ ที่จะทำให้ท่านมีความบริสุทธิ์โดยศีล และทำให้มีบารมีเพื่อสร้างบุญ สร้างบารมี การที่ท่านได้รับศีล รับพรจากพระ หรือสมาทานศีลเองจากพระพุทธรูป ตลอดจนการที่ท่านได้ไปทำบุญบริจาคทาน จะทำให้ท่านมีพลังบารมีที่จะได้ประกาศ มีประกาศิตขออะไรก็ได้สมดังที่ปรารถนา เมื่อท่านสวดมนต์ เรียบร้อยแล้ว ให้ท่านสวดบทชุมนุมเทวดา


“สัคเค กาเม จะ รูเป คิริสิขิระตะเฏ จันตะลิกเข วิมาเน ทีเป รัฏเฐ จะ คาเม
ตะรุวะนะคะหะเน เคหะ วัตถุมหิ เขตเต ภุมมา จายันทุ
เทวา ชะละถะละ วิสะเม ยักขะ คันธัพพะนาคา ติฏฐันตา
สันติเกยัง มุนิวะระวะจะนัง สาธะโว เม สุณันตุฯธัมมัสสะวะ นะกาโล
อะยัมภะทันตา ธัมมัสสะวะ นะกาโล อะยัมภะทันตา ธัมมัสสะวะ นะกาโล อะยัมภะทันตาฯ”

จากนั้นให้ท่านนำเงินที่ท่านเตรียมไว้แล้วกล่าวคำอธิษฐานว่า “ข้าพเจ้า (ชื่อ/ นามสกุล ของท่าน) ขออุทิศส่วนบุญ ส่วนกุศลที่ข้าพเจ้าได้สร้างมาแต่อดีตชาติ ถึงปัจจุบัน ให้แก่เจ้ากรรมนายเวร และสรรพสัตย์ทั้งหลาย ข้าพเจ้าขออุทิศส่วนบุญ ส่วนกุศลทั้งหลายให้เทพเทวา นาคาทุกหมู่เหล่า ตลอดถึงเทพพระอาทิตย์ เทพพระจันทร์ จงได้รับอานิสงส์แห่งผลบุญนี้ ที่ข้าพเจ้าได้สร้างในวันนี้โดยเร็วพลัน เมื่อได้รับผลบุญนี้แล้ว ก็ขอให้ท่านทั้งหลายประทานพรอันประเสริฐให้ข้าพเจ้ามีโชคลาภ มีเงินตราตามที่ปรารถนา จากสิ่งที่ทำด้วยความวิริยะอุตสาหะ ขอให้ได้รับความสำเร็จในเรื่องของการงาน ความสำเร็จในเรื่องความรัก ความสำเร็จในเรื่องของชีวิต …………………..”

คุณจะขออะไร คุณก็อธิษฐานไป ให้อยู่ในกรอบของเหตุผล ศีลธรรมอันดีงาม บุญวาสนาเก่าที่คุณสร้าง จะมีส่วนเกื้อกูลให้เชื่อมต่อกับบุญปัจจุบัน บุญกุศลที่สร้างในปัจจุบัน จะมีเหตุให้เชื่อมต่อถึงผลที่ได้รับในปัจจุบัน เมื่ออธิษฐานแล้ว ก็อย่าลืมทิ้งท้ายว่า ขอให้พระอาทิตย์ และพระจันทร์นำพาโชคลาภและความสำเร็จ จงบังเกิดแก่ข้าพเจ้า ด้วยอานิสงส์แห่งบุญที่ได้สร้างสมมาแต่ในอดีต ปัจจุบัน เป็นพละปัจจัยทำให้มีความสุข สมหวังทุกประการ นับตั้งแต่วินาทีนี้ ตราบไปเมื่อหน้าเทอญ” ที่อธิษฐานแบบนี้ ถือเป็นการเร่งบุญ ไม่ให้บุญที่ทำนั้น ไปสะสมในชาติในภพอื่น และอย่าลืมอุทิศส่วนบุญ ส่วนกุศลให้พระจันทร์ พร้อมทั้งเจ้ากรรมนายเวร ด้วยทุกครั้ง


พิธีการขอเงินจากพระจันทร์นั้น ถ้าท่านทำตามลำดับที่ได้กล่าวมาข้างต้นนี้ ถือว่าสัมฤทธิ์ผลที่สุด ส่วนท่านจะเปลี่ยนจากเงินเป็นล็อตเตอรี่ที่ไปซื้อมา เพื่อให้ถูกรางวัลก็ทำได้ด้วยเช่นเดียวกัน การอธิษฐานขอเงินจากพระจันทร์ การอธิษฐานขอความสำเร็จจากพระจันทร์ ในเรื่องอื่น ๆ ก็สามารถทำได้ด้วยเช่นเดียวกัน ให้สมหวังในเรื่องการงาน การเรียน ความรัก หรือเรื่องอื่น ๆ ที่ท่านปรารถนา ขอให้ลองปฏิบัติดู จะประสบความสำเร็จมากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับบุญหรือกรรมเก่าที่ได้สร้าง หรือสะสมเอาไว้ ถ้าท่านได้สร้างหรือสะสมเอาไว้มาก ก็มีโอกาสได้รับความสำเร็จมาก ถ้าสร้างไว้น้อย ก็ได้รับความสำเร็จน้อย ตรงนี้เป็นเรื่องที่แข่งกันไม่ได้ครับ เพราะเป็นเรื่องของวาสนาบารมี ที่สำคัญการขอพรจะสัมฤทธิ์ผลมากหรือน้อยนั้น จิตใจท่านต้องมีเมตตา ต้องยึดหลักพรหมวิหาร 4 เมตตา กรุณา มุฑิตา อุเบกขา

อ.ลักษณ์นำเคล็ดลับนี้มาเผย แพร่ให้กับศิษยานุศิษย์ ตลอดจนประชาชนทั่วไป ผ่านหนังสือพิมพ์ นิตยสารต่าง ๆ ที่ อ.ลักษณ์ เป็นคอลัมนิสต์อยู่ ปรากฏว่าได้รับการยอมรับเป็นอย่างดี และเกิดผลดีอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ จะเห็นได้ว่าเมื่อทำแล้ว ประสบความสำเร็จ เป็นผลดี สำหรับท่านที่ยังไม่เห็นผล ก็รู้สึกดีที่ได้ทำ รู้สึกมีสติ ที่จะระลึกถึงการทำดี คิดดี พูดดี ใน 1 วันนั้นที่เป็นวันฟ้าเปิด และยังบอกต่อไปยังเพื่อน ๆ ให้ได้ทำความดีในวันนั้น ถึงแม้จะยังไม่เห็นผล แต่ก็รู้สึกอิ่มเอิบที่ได้ทำดี ยังไปถึงคนอื่น ๆ ด้วยเช่นกัน เหมือนเป็นการทำบุญโดยทางอ้อม

การขอเงินจันทร์ นั้น ต้องขึ้นอยู่กับบุญบารมีที่ท่านสะสมมาด้วย ไม่ใช่คิดว่าทำบุญแค่ครั้งเดียว แล้วจะมีโชคมีลาภ แบบนี้เทวดาคงไม่ประทานพร การทำบุญนั้น ต้องทำอยู่เป็นประจำอย่างต่อเนื่องครั้ง จึงจะเป็นพลังบุญบารมีให้ท่านได้อธิษฐานขอพรจากเทพยดาได้


ขอบคุณที่มา : อ.ลักษณ์ http://www.horotoday.com/?p=115



บทความที่เกี่ยวข้อง

วันจันทร์ดับ

วิธีปฏิบัติตนในวันขอเงินจากพระจันทร์

ในวันที่กำหนดให้เป็นวันขอเงินจากพระจันทร์นั้น ให้ท่านทั้งหลายทำใจให้สบาย
วันนั้นการทะเลาะเบาะแว้งกับใคร จนทำให้เกิดอารมณ์ขุ่นมัว ไม่สมควรทำเด็ดขาด
พยายามทำให้วันนั้นเป็นวันที่สงบ ราบเรียบ ในวันจันทร์ดับนั้นควรไปปฏิบัติธรรม
รับศีล อยู่ใกล้ชิดผู้ใหญ่ สมณะชีพราหมณ์ แบบนี้จะเป็นมงคลอย่างมาก เป็นเรื่องที่ควรกระทำ
พยายามที่จะทำในสิ่งที่ดี เพื่อสะสมเป็นบุญบารมีที่จะนำไปสู่การขอเงินจากพระจันทร์
ในวันจันทร์ดับนั้น ถ้าเป็นไปได้ ท่านต้องทำจิตใจให้สงบ เช้าควรไปทำบุญตักบาตร
ถวายสังฆทาน ปล่อยชีวิตสัตว์ เพื่อจะได้มีอานิสงส์แห่งบุญ ที่จะไปเชื่อมต่อรอยบุญ
และหากไม่มีโอกาสไปทำบุญกับพระที่วัด
แต่คุณพ่อคุณแม่อยู่ด้วยที่บ้าน ท่านก็สามารถไปกราบขอพรจากท่านได้ เพราะพ่อแม่
บุพการีนั้น ถือเป็นพระพรหมผู้ให้กำเนิด ให้ท่านพูดดีๆ กับเรา
อวยชัยให้พรกับเรา แล้วท่านก็จะประสบความสุข ความสำเร็จตามที่ปรารถนา
ทำให้มีพลังชีวิตที่จะต่อสู้กับอุปสรรค วันที่เป็นวันพระจันทร์ดับนั้น
ควรหาโอกาสบริจาคทานให้แก่ผู้ยากไร้ ให้แก่บุคคลที่ขาด
เมื่อท่านต้องการในเรื่องใด ขาดในเรื่องใดของชีวิต ก็ขอให้ทำบุญให้กับคนที่ขาดในเรื่องนั้น
เช่น ท่านขาดความรัก ก็ทำบุญให้กับคนที่ขาดความรัก ที่บ้านเด็กกำพร้า
ถ้าท่านต้องการที่พึ่งพา ก็ทำบุญที่บ้านพักคนชรา ทำบุญกับโรงพยาบาลสงฆ์
และประการสำคัญ ในวันจันทร์ดับนั้น ห้ามอย่างยิ่งที่จะให้ใครหยิบยืมสตางค์
อย่าให้ใครมาทวงหนี้ หรือพยายามอย่าให้มีเหตุการณ์ที่ไม่ดีทั้งหลายเกิดขึ้น
เพราะถ้าเกิดขึ้น เหตุการณ์นั้นจะดำรงคงอยู่ไป 1 เดือนเต็ม นับตั้งแต่วันพระจันทร์ดับเลยทีเดียว


ขอบคุณที่มา : http://www.horotoday.com/


บทความที่เกี่ยวข้อง

พุธที่ 10 ส.ค.2553

วันพุธที่ 10 ส.ค. 2553 เป็นวันพระ และเป็นวันจันทร์ดับ
หรือเรียกกันอีกอย่างว่าเป็นวัน Full Moon
เราบังเอิญได้รู้มาว่าวันจันทร์ดับเป็นวันขอเงินจันทร์
เราก็เลยลองขอจันทร์ดูบ้าง...แหะๆ

เป็นโชคดีที่วันนี้เราได้ไปประชุมแทนท่านผู้จัดการ...เพราะมันใช้เวลาแค่ครึ่งวัน
หลังจากนั้นเราก็จะมีเวลาเป็นของเรา
หลังจากประชุมเสร็จเราก็แวะตลาดซื้อผลไม้ ดอกไม้-มาลัย
กลับถึงห้องอาบน้ำแต่งตัว เตรียมของที่ซื้อมาบูชาพระ
สวดมนต์ นั่งสมาธิเพื่อทำจิตใจให้สงบผ่องใส...เพื่อรับกับวันดีๆ อย่างนี้

วันจันทร์ดับที่เขาเรียกกัน หรือวันขอเงินจากพระจันทร์นั้น เป็นวันที่ฟ้า
หมายถึง สวรรค์ และพื้นภพของมนุษย์ พื้นภพของนาคา พื้นภพของนรก ประตูทุกแดนภูมิจะเปิด
และเป็นวันที่พระอาทิตย์ พระจันทร์ทำมุมที่เอื้อประโยชน์ ต่อมวลมนุษยชน และประชาชนโดยทั่วไป
ซึ่งวันฟ้าเปิดนั้น จะมีเพียงเดือนละ 1 วันเท่านั้น
แต่ในวันที่ดีอย่างนี้ เราจะต้องทำอย่างไรให้วันนั้นเกิดประโยชน์
เกิดโชคลาภ หรือมีความสำเร็จเกิดขึ้น


บทความที่เกี่ยวข้อง

หลวงปู่แหวน:ตั้งสัจจะ-ตอนที่ 2

เราต้องตักเตือนข่มขู่ ชักจูงแนะนำจิตของเราด้วยอุบายแยบคาย ถ้าจิตใจมันเกียจคร้าน เราต้องหาอุบายมาตักเตือน ชักจูงแนะนำ ให้มีความอาจหาญ ร่าเริง ให้เกิดความอุตสาหะขยันหมั่นเพียร ไม่ปล่อยให้จิตนิ่งเฉยเกียจคร้าน

เราต้องละความเกียจคร้าน ความไม่ดีของจิตด้วยการอบรมภาวนาอย่างนี้ ถ้าเราตักเตือนชี้นำด้วยอุบายอันชอบ ในที่สุดจิตก็จะฟังเหตุผล เกิดความมุมานะพยายามในความเพียร เราต้องข่มขู่ตักเตือนบ่อยๆ ในสมัยที่จิตนิ่งเฉยต่อความเพียร

ถ้าเราคอยประคับประคองจิต ด้วยอุบายข่มขู่ตักเตือน ด้วยอุบายแยบคาย จิตย่อมจำนนต่อเหตุผล ระวังรักษาสติไว้อย่าให้หลงลืม ฝึกหัดให้เกิดความรู้ความฉลาดเกิดขึ้นในจิตในใจของตน

จิตของเราถ้ามันเกียจคร้านขึ้นมามันจะให้เรานอนท่าเดียว ถ้ามันเกิดอย่างนี้ขึ้นมา เราต้องหาอุบายมาข่มขู่ตักเตือน อุบายใดที่ยกขึ้นมาชี้แจงแล้วจิตยอมเชื่อฟังนั่นแหละคืออุบายที่ควรแก่จิตใน ลักษณะนั้น และในขณะนั้นๆ ถ้าเราไม่ข่มขู่ชี้โทษโดยอุบายที่ชอบ ใครเขาจะมาตักเตือนเรา บางครั้งจิตถ้ามันเกียจคร้านขึ้นมา มันจะวางเฉยในอารมณ์ทั้งหมด ในลักษณะเช่นนี้แหละ เราต้องหาอุบายมาทำให้จิตตื่นให้ได้ เช่นไหว้พระสวดมนต์ หรือยกธรรมบทใดบทหนึ่งขึ้นมาพิจารณา

ให้ตั้งอยู่ในความหมั่นความเพียร ในคุณงามความดีของตน พยายามเพ่งดูในจิตในใจของเรานี้แหละ ถ้าไม่อาศัยความขยันหมั่นเพียร ไม่ได้ จิตเรานี้มันมักจะไหลไปสู่อารมณ์ต่างๆ เป็นอดีตอนาคตไป เราต้องหาอุบายมาชี้แจงให้ตั้งอยู่ในปัจจุบันธรรม

ถ้าเราไม่หมั่นหาอุบายมาอบรมจิตแล้ว ส่วนมากจิตมักจะเกิดความเฉื่อยชา วางเฉย ดังนั้น อุบายจึงเป็นของสำคัญ ยกขึ้นสู่การพิจารณาชี้แจง ให้จิตอาจหาญ ร่าเริง เห็นแจ้งในจิตในใจของเรา ถ้าจิตยิ่งเกิดเกียจคร้านเท่าไรเราก็ต้องเพิ่มความพยายามตักเตือน โดยอุบายให้มากขึ้นให้เท่าเทียมกัน จนเกิดความขยันขันแข็ง เบิกบานผ่องใส

ให้ตั้งอกตั้งใจตั้งสัจจะตรงต่อคุณพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ให้เกิดความอุตสาหะวิรยะ ความพากความเพียร ในภาวนาในคุณความดี

ให้ตั้งอยู่ในสิกขาวินัย ในความหมั่นความเพียร

ให้ตั้งความสัจจ์ความเพียรไว้อย่าเป็นคนเกียจคร้าน พระพุทธเจ้าสั่งสอนเราให้ตั้งอยู่ในมรรคในผล ให้พยายามรักษาจิตรักษาใจของเราอาศัยความองอาจกล้าหาญ ในความพากความเพียรของเรา อย่าอ่อนแอท้อแท้ เราต้องสู้กับทุกสิ่งทุกอย่าง ถ้าองอาจกล้าหาญจึงจะผ่านอุปสรรคไปได้

ให้รักษาตา รักษาหู รักษาจมูก รักษากาย รักษาใจ ของตน ในทุกอิริยาบท ยืน เดิน นั่ง นอน


ขอบคุณที่มา : http://board.palungjit.com/f131/ให้ตั้งสัจจะ-หลวงปู่แหวน-220070.html


บทความที่เกี่ยวข้อง

หลวงปู่แหวน:ตั้งสัจจะ-ตอนที่ 1

การปฏิบัติเราจะเดินก็ให้ตั้งสัจจะไว้ว่า จะเดินเท่านี้เท่านั้น หรือเราจะนั่งวันหนึ่งคืนหนึ่ง หรือถ้าเราสู้ไม่ไหวเราก็เอาแต่พอสมควร ให้ตั้งใจจริงๆ

กำหนดตั้งสัจจะไว้ในจิตในใจ ละความมัวเมาออกให้หมด คอยกำหนดจิตเข้ามาสู่ภายในให้ใจเบิกบาน ตั้งความสัจจะว่าจะภาวนาเป็นเวลาเท่านั้นเท่านี้ หรือถ้าจะเดินก็ให้กำหนด ระวังรักษาจิตใจของเรา ให้แช่มชื่นเบิกบานไม่ปล่อยจิตปล่อยใจให้เป็นธรรมเมา รักษาจิตใจให้ตั้งอยู่เฉพาะธรรมโม

อย่าละความเพียรความพยายาม ให้เพียรไปติดต่อกัน จะเป็นวันหนึ่งหรือคืนหนึ่งก็ได้ เช่น ตั้งสัจจะว่าจะนั่งตลอดคืนจะไม่นอน อย่างนี้ตั้งสัจจะไว้อย่างนี้เป็นการดี ตั้งสัจจะต่อพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ แล้วตั้งใจให้ดี คอยระวังรักษาจิตใจของเรานั้นแหละ ให้ผ่องใสตลอดไป

ให้พยายามรักษาความดีความหมั่นความขยันของเราไว้ ให้สละความเกียจคร้านออกไปเสีย ปกติจิตของเรานี้มักจะไหลไปสู่ความเกียจคร้านความลุ่มหลง
เราต้องพยายามหาอุบายมาเตือนตนอยู่เสมอ ด้วยความเพียรความหมั่น ให้รักษา กาย วาจา ใจ ของเราให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ในสิกขาวินัย นำความผิดความชั่ว ออกจากกาย จากวาจา จากใจ

อาศัยความเพียรเป็นไปติดต่อ จึงจะชนะความเกียจคร้านได้ ความมัวเมา ความประมาทอันใดมีก็ให้ละเสีย ให้วางเสีย ทำจิตใจของเราให้ตั้งอยู่ในธรรมโม พิจารณากลับไปกลับมาอยู่อย่างนี้ ต้องอาศัยความเพียรความหมั่นความขยัน ไม่เช่นนั้นจิตมันจะตกไปสู่ความเกียจคร้าน


ขอบคุณที่มา : http://board.palungjit.com/f131/ให้ตั้งสัจจะ-หลวงปู่แหวน-220070.html


บทความที่เกี่ยวข้อง

วันพุธที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ตัวอย่าง คำอธิษฐานฝากกระแส

ตัวอย่าง คำอธิษฐาน ฝากกระแสไว้กับพระพุทธรูป

เพื่อหวังเอาผลบุญกับทุกดวงจิตที่เลื่อมใสหรือเข้ามากราบไหว้ร่วมบุญกับรูปธรรมธาตุที่ตนได้สร้างเอาไว้ รวมไปถึงการสร้างวัดหรือโบสถ์วิหาร ทุกครั้งที่มีผู้เจริญในธรรมมาอาศัยโบสถ์วิหารนั้นสร้างกุศล ผู้สร้างจึงได้ผลบุญด้วย ด้วยเหตุนี้ผลแห่งวิหารทานจึงมากกว่าสังฆทานมากมายนัก


คำอธิษฐานเมื่อร่วมสร้างพระพุทธรูป...โดยครูบาชัยยะวงศาพัฒนา
วัดพระบาทห้วยต้ม อ.ลี้ จ.ลำพูน


"ข้าพระพุทธเจ้า ได้ร่วมสร้างพระพุทธรูปและเอาพระธาตุบรรจุไว้ที่นี่
ไว้เป็นที่สักการะของมนุษย์และเทวดาเช่นนี้ ขอให้เป็นกุศลอันยิ่งใหญ่
ข้าพระพุทธเจ้าขอปราถนาเอากุศลจากผู้มากราบไหว้ ขอให้ได้ทุกผู้กราบผู้ไหว้
ให้มีความสุข ความเจริญ อีกประการหนึ่ง ขอบุญนี้จงไปปิดทับ อบายภูมิทั้งสี่
ขอบุญอันนี้เกิดขึ้นเฉพาะ ขอให้ข้าพระพุทธเจ้าสามารถว่ายข้ามมหาสมุทร
ข้ามพ้นวัฏสงสาร ถึงพระนิพพานเป็นที่สุด ขอให้ได้บุญทุกวันทุกเวลา
จากผู้กราบไหว้ด้วยเทอญ....."



ขอบคุณ : http://www.watthummuangna.com/




บทความที่เกี่ยวข้อง

อธิษฐานบารมี - ตอนจบ

การฝากกระแส...ความฉลาดในอธิษฐานบารมี

ปกิณกะเทคนิคการฝากกระแส

1. การฝากตนเองเป็นลูก หรือลูกศิษย์แก่ พระฯหรือ เทพ-พรหม หรือครูบาอาจารย์นับถือ
2. การฝากกระแสสร้างบารมีต่อผู้มีกำลังท่านอื่นๆ (ที่บางสายเรียกว่าการแบ่งภาค)
3. การฝากกระแสไว้กับวัด พระพุทธรูป พระเครื่อง
4. การฝากกระแสไว้กับธาตุ เส้นเกษา หรือพระธาตุ
5. การฝากกระแสไว้ที่พระนิพพาน
6. การฝากกระแสไว้ที่ดุสิต
7. การฝากกระแสไว้เพื่อค้ำเมือง
8. การฝากกระแสไว้กับอักขระ คาถา
9. การฝากระแสไว้ในอากาศ หรือวิญญานธาตุ หรือองค์สัญญา
10. การฝากกระแสเพื่อการจุติใหม่โดยไม่ผ่านภูมิสวรรค์ หรือพรหมโลก (ตายแล้วเข้าท้องเลย)
11. การฝากกระแสไว้ที่อาทิสมานะกาย หรือเจตภูติ หรือเทพผู้ที่มีศักดา
เพื่อการทำหน้าที่แทน อย่างการรับบน ตลอดจนเพื่อเป็นกำลังกั้นตัวเองมิให้ตกอบาย หรือกลับมาสอนสรรพวิชาให้แก่ตนเอง
12. การฝากกระแสไว้ที่สรรพว่านยาของพระฤาษี
13. การฝากกระแสไว้ที่ธาตุวัตถุที่ประกอบไปด้วยความเชื่อ เช่น เหล็กไหล ดวงแก้ว
14. การประทับรอยพระพุทธบาท การอธิษฐานประธาตุ
15. การฝากกระแสไว้เพื่อสร้างบารมียามหลับ หรือทุกขณะเวลาทั้งยามหลับยามตื่น ยามรู้ตัว ยามมิรู้ตัว
16. การฝากกระแสเพื่อปรนนิบัติ และเรียนรู้สรรพวิชาจากครูบาอาจารย์ แม้มิมีโอกาสได้อยู่ไกล้ครูบาอาจารย์ก็เหมือนอยู่ไกล้
เพราะไม่ว่าท่านจะสอนใครเราก็รับรู้ ได้ยิน หรือสามารถเข้าใจได้โดยง่าย เมื่อมีคนมาเล่าให้ฟัง (อย่างนี้โบราณท่านเรียกครูพักลักจำ)
17. อื่นๆ

จากที่อธิบายมาข้างต้นนั้น หากผู้เข้าใจในเรื่องของกระแส-เรื่องของพลังงานได้ระดับหนึ่งแล้ว
ได้อ่านปกิณกะเทคนิคการฝากกระแสตามตัวอย่างข้างต้น ก็คงพอจะทดลองทำ หรือพัฒนาให้ปลีกย่อยพิสดารยิ่งๆ ขึ้นไปได้

อันวิชาของพระฯ วิชาของหลวงปู่นั้นมีมากมายกว่า 108 ประการขอเพียงมีจิตเปิดกว้างรับสิ่งใหม่ๆ หมั่นพัฒนาตนเองอยู่เสมอ ที่สำคัญให้หาเป้าหมาย หาที่ลงให้เจอเพื่อมิให้หลงทาง(พระนิพพาน) การปฏิบัติของท่านก็จะก้าวหน้าลึกซึ่งยิ่งขึ้นเรื่อยๆไป จนเมื่อถึงจุดลงก็จะพบกับความสามัญอีกครั้งหนึ่ง

ขอโมทนาบุญกับคุณ Attawat_Rx
http://watthummuangna.com/



บทความที่เกี่ยวข้อง

วันพุธที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

อธิษฐานบารมี - 2

วิธีการฝากกระแส

1. อาศัยการสร้างรูปธรรม เช่น การสร้างรูปเคารพของครูบาอาจารย์ การสร้างหรือการอธิษฐานจิตประจุในพระเครื่องพระบูชาเพื่อฝากระแสไว้กับพระฯ เพื่อหวังเอาผลบุญกับทุกดวงจิตที่เลื่อมใสหรือเข้ามากราบไหว้ร่วมบุญกับรูปธรรมธาตุที่ตนได้สร้างเอาไว้ รวมไปถึงการสร้างวัดหรือโบสถ์วิหาร ทุกครั้งที่มีผู้เจริญในธรรมมาอาศัยโบสถ์วิหารนั้นสร้างกุศล ผู้สร้างจึงได้ผลบุญด้วย ด้วยเหตุนี้ผลแห่งวิหารทานจึงมากกว่าสังฆทานมากมายนัก เช่นเดียวกับการสร้างหนังสือธรรมมะ เพราะเป็นเหตุแห่งการบรรลุธรรม พ้นจากความทุกข์เข้าสู่พระนิพพาน เหตุนี้ "สรรพทานัง ธรรมะทานัง ชินาติ" การให้ธรรมมะเป็นทานจึงชนะการให้ (วัตถุทาน) ทั้งปวง เป็นต้น


2. อาศัยกำลังจิตจับกับนามธรรมหรือรูปธรรม อย่างการนึกถึงหลวงปู่ดู่ การอธิษฐานฝากตัวเป็นลูกหรือ ฝากตัวเป็นศิษย์ ขอให้ท่านดูแลไปตลอดจนกว่าจะนิพพาน เพื่อการไม่คลาดจากท่าน หรือการไม่คลาดจากความดีแบบท่าน ให้ทุกๆ ชาติได้มีสัมมาทิฐิ หรือย่างสมัยที่มีการทำศึกสงครามอย่างตอนที่ทำการปลุกทัพทำพิธีก่อนออกศึกนั้น ทุกดวงจิตของทหารจะจดจ่ออยู่ที่แม่ทัพนายกองหรือกษัตริย์ ครั้นเมื่อตายลงแล้วเกิดใหม่ จิตที่ปักอยู่ก็จะทำให้ตนเองเข้าใจคลาดเคลื่อนว่าตนคือกษัตริย์พระองค์นั้นกลับชาติมาเกิด แต่ข้อดีก็คือ ท่านผู้นั้นจะมีกำลังมาก(ผลจากอนุโมทนา)และทำอะไรได้คล้ายต้นพลังงาน ซึ่งก็จะเป็นการเร่งรัดบารมีได้แบบหนึ่ง

3. การอนุโมทนา เป็นการเอาจิตเลื่อมใสในคุณความดีของผู้อื่น (อนุแปลว่าตาม โมทนาแปลว่ายินดี) กระแสพลังงานบุญ-คุณความดีจะเข้าสู่ผู้อนุโมทนาหากทรงกำลังใจบริสุทธิ์ผ่องแผ้วจะทำให้ได้ผลบุญนั้นเฉกเช่นผู้กระทำก่อน ถึง 90 ส่วนโดยประมาณ

แต่หากสักแต่ว่ากล่าวอนุโมทนาไป โดยจิตไม่ได้เลื่อมใสศรัทธาในบุญนั้นอย่างแท้จริง ก็จะได้อานิสงส์เพียง 5-10 ส่วนขึ้นไปโดยประมาณ ด้วยเป็นกำลังผลของการขจัดอัตตา และผลของฌานสมาบัติ (ผู้ทรงพรหมวิหาร ย่อมทรงฌานสมาบัติด้วย เนื่องเพราะอารมณ์เป็นหนึ่งเดียวกันหรือไกล้เคียงกันนั่นเอง) และผลจากการทำจิตน้อมในกุศล ผลของกุศลนั้นจึงได้น้อมเข้าใส่ตัวนั่นเอง.....


4. การฝากกำลัง(กระแส) เกิดขึ้นได้ทั้งสองทาง คือ
ผู้มีกำลังมาก ฝากกระแสให้ผู้มีกำลังน้อย อย่างหลวงปู่ทวดฝากกระแสให้กับสาวกหรือพระโพธิสัตว์ที่เกี่ยวข้องกับท่าน ทำให้การบำเพ็ญบารมีของพระโพธิสัตว์หรือสาวกท่านนั้นมีกำลังที่จะสร้างสรรค์อะไรต่อมิอะไรได้มาก แต่หากดูกระแสได้ไม่ลึกพอ จะเข้าใจคลาดได้ว่า ตนคือเจ้าของกระแสที่ฝากมาจริงๆ อย่างกรณีที่มีคนเข้าใจว่าตนคือพระนเรศวร หรือพระศรีย์อาริย์มากมายนั่นเอง

เพื่อการติดตามไม่คลาดจากคุณธรรมของผู้มีกำลังมากกว่า ผลก็คือ เมื่อต้นกระแสทำกุศลเช่นใด ตนเองก็ได้ผลเช่นนั้นด้วย แต่จะมากจะน้อยก็ขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัยหลายตัวด้วยกัน

5. การเสริมกำลังหรือการร่วมกำลัง คล้ายกับข้อที่ 4 ต่างกันที่จุดประสงค์ กล่าวคือ มักจะทำในผู้ที่มีกำลังมากให้แก่ผู้ที่มีกำลังเสมอกันหรือกำลังน้อยกว่า เพื่อให้ท่านเหล่านั้นทำงานได้คล่องขึ้นหรือเกิดผลงานได้มากขึ้น เป็นการช่วยเหลือเกื้อกูลกันของพระโพธิสัตว์ ที่ช่วยให้พระโพธิสัตว์ต่างๆ ด้วยกัน ทำงานได้มากขึ้น หรือมีบารมีเต็มเร็วมากขึ้น....อย่างเช่น เมื่อเห็นพระโพธิสัตว์ท่านใดทำงานอยู่ อย่างการสร้างวัด เราก็อธิษฐานรวมบารมีของทั้งพระฯ และของตนเองอธิษฐานครอบเป็นวิมานแก้วบารมี 10 ทัศให้แก่ท่านนั้น แล้วท่านนั้นก็จะทำงานต่างๆได้ลุล่วงเร็วขึ้น-มากขึ้น ผู้ฝากเองก็ได้กระแสบุญในการนั้นด้วย

มองดูคล้ายอนุโมทนา แต่ตรงนี้ก้าวไปอีกขั้นของอนุโมทนา ตรงนี้ก็คือการทำเมตตาและกรุณาให้บังเกิดขึ้นด้วยกำลังจิต
(พรหมวิหาร 4 ใช้งานในองค์ฌานสมาบัติ) นั่นเอง....

ประโยชน์หรือผลที่ได้จากการฝากกระแส

1. บารมีเต็มเร็วขึ้น ไม่คลาดจากกุศล
2. โอกาสในการตกอบายภูมิน้อยลงหรือไม่มี
3. เข้าถึงความเป็นพระอริยเจ้า หรือพระนิพพานได้โดยง่าย
4. ทำให้ดวงจิตอยู่ในความดีตลอดเวลา
5. งานเพื่อพระศาสนาสามารถสำเร็จลุล่วงได้โดยง่ายหรือเกิดกำลังมากขึ้น

ข้อเสียของการฝากกระแสไม่ถูกทาง
1. หากฝากกระแสผิดทางอาจทำให้หลงอบาย อย่างกรณีผู้ติดตามท่านฮิตเลอร์ ก็เป็นเหตุให้เเล่นไปตามท่านฮิตเลอร์ เป็นต้น
2. การเข้าสู่พระนิพพานอาจช้าลง ในกรณีของผู้ติดตามโดยแท้ (ไม่ละไปตามผู้อื่น) ของพระโพธิสัตว์ผู้ทำบารมีอันยาวนาน แทนที่ท่านนั้นจะได้ไปพระนิพพานเป็นเวลาอันช้านานล่วงมาแล้ว ก็คงต้องรอจนกว่าพระโพธิสัตว์ท่านนั้นจะถึงเวลาลงมาตรัส จึงจะยอมเข้าพระนิพพานโดยสมัครใจ....ซึ่งมูลเหตุนี้เองพระโพธิสัตว์ใหญ่บางท่านจึงได้ถวายพระโพธิญานเป็นพุทธบูชา ลาพุทธภูมิ เพื่อผลต่างๆ มากมายที่จะตามมา....


บทความที่เกี่ยวข้อง

วันจันทร์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

บวชอยู่ที่บ้าน

ถือสัจจะอุโบสถศีลที่บ้านได้ 4 วัน นับว่าเป็นบุญของเรา

วันอังคารที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

อธิษฐานบารมี - 1

การฝากกระแส...ความฉลาดใน อธิษฐานบารมี ตอนที่ 1

ในบรรดาหลักวิชาบารมี ที่นับว่าช่วยย่นย่อการสร้างบารมีให้เต็มบริบูรณ์ได้ดีมากตัวหนึ่ง หากไม่นับปัญญาบารมีแล้ว ก็คงจะหนีไม่พ้น อธิษฐานบารมี ความหมายของอธิษฐานบารมีนั้นแปลว่า "ตั้งตนไว้ให้ตรงโดยเฉพาะ" ซึ่งหมายถึงเมื่อเราค้นพบว่าสิ่งใดอันเป็นสิ่งสูงสุดที่เราพึงปรารถนาก็ให้ทำจิตให้ตรงต่อสิ่งนั้น
เช่น ฝ่ายสาวกภูมิ สิ่งที่พึงปราถนาสูงสุดคือพระนิพพาน ก็ให้อธิษฐานรวมกำลังบุญบารมีทุกอย่างให้เป็นกำลังที่จะตรงต่อพระนิพพาน ในส่วนของพุทธภูมินั้นจุดมุ่งหมายสูงสุดก็คือพระนิพพานเช่นเดียวกัน แต่ต่างกันในประเด็นที่ว่า จุดมุ่งหมายสูงสุดนอกจากพระนิพพานแล้ว ยังคงมุ่งหวัง ปรารถนาที่จะอภิเษกสัมมาสัมโพธิญานตรัสรู้ชอบได้ด้วยตนเอง พร้อมทั้งปราถนาที่จะทำงานรื้อขนสรรพสัตว์เข้าสู่พระนิพพาน ไม่ยินดีที่จะเข้าสู่พระนิพพานโดยลำพัง

การอธิษฐานบารมีนั้นสำคัญมาก ดวงจิตใดที่ฉลาดในการอธิษฐานบารมีจะสามารถย่นย่อเวลาในการก้าวย่างเข้าสู่พระนิพพานได้นับเป็นพันชาติ หรือมากกว่านั้น ทั้งนี้ไม่ว่าจะเป็นในสายพุทธภูมิ หรือสายสาวกภูมิก็ตาม ดังตัวอย่างเมื่อครั้งหนึ่งที่หลวงพ่อพระราชพรหมญานท่านได้กล่าวกับคณะศิษย์ว่า ด้วยเพราะตั้งความปรารถนาว่าจะนิพพานในอนาคตกาลเบื้องหน้า แทนที่จะกล่าวว่าขอนิพพพานในชาตินี้ ทำให้ต้องคั่งค้างเวียนว่ายตายเกิดอีกนับเป็นพันๆ ชาติ ทั้งที่บารมีนั้นเต็มพร้อมที่จะบรรลุความเป็นพระอริยเจ้าได้ ขาดแต่การอธิษฐานทำใจให้ตรงเท่านั้น....

เกี่ยวกับเรื่องของ "การฝากกระแส "

คำว่า "กระแส" นั้นแปลออกมาได้หลายอย่างด้วยกัน อย่างที่หลวงตาม้าท่านบอกว่า คำว่า "กระแส" คำเดียว หมายถึง "ตัวขับเคลื่อนพลังงาน" ดังนั้นหากผู้ใดพอจะเข้าใจเรื่องพลังงาน และเรื่องรูป-นามมาบ้างแล้ว คงพอจะเข้าใจได้ไม่ยาก คำว่ากระแสจึงหมายถึง "คลื่นพลังงานของดวงจิต"

ดังนั้นการฝากกระแสจึงหมายถึง การกำหนดฝากคลื่นพลังงานของจิตของเราเอาไว้กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งไม่ว่าจะเป็นรูปธรรมหรือนามธรรม ทั้งนี้เพื่อประโยชน์มากมายในภายภาคหน้า ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการไม่คลาดเคลื่อนจากความดีคือสัมมาทิฐิ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการได้รับกระแสบุญตลอดเวลากับสิ่งที่เราฝากกระแสเอาไว้ หรืออื่นๆ

องค์ประกอบของการฝากกระแส

1. ต้นกระแส ก็ได้แก่ผู้มีกำลังมาก หรือผู้ที่เรานับถือทั้งหลาย เช่น พระโพธิสัตย์ เทพ-พรหม หรือแม้แต่รูปธรรมที่ไม่มีชีวิต เช่น พระพุทธรูป วัด เจดีย์ พระพุทธบาท

2. ผู้อธิษฐาน ก็คือตัวเรานั่นเอง จะต้องมีกำลังจิตของสมาธิตั้งแต่ขณิกสมาธิเป็นต้นไป ยิ่งใช้กำลังของสมบัติ 8 ด้วยแล้วยิ่งมีกำลังมาก เหมือนการอธิษฐานปกติของเราใช้กำลังอุปจารสมาธิ กว่าจะฝากกระแสได้แนบแน่น ก็อาจจะใช้การอธิษฐานหลายครั้ง แต่หากฉลาดในการอธิษฐานฝากกระแส ก็จะใช้กำลังของสมาบัติเป็นบาทฐาน ถอยหลังมาที่อุปจารสมาธิ หรือทรงฌาน 4-8 แบบใช้งาน แล้วทำการอธิษฐานกระแส กระแสก็จะแนบแน่นยิ่งกว่า การอธิษฐานครั้งเดียวก็มีผล อย่างการอธิษฐานฝากกระแสไว้ที่พระนิพพาน เพื่อที่เวลาสิ้นชีพแล้วกระบวนการทางจิตและกรรมจะมีผลโน้มนำให้ตรงต่อพระนิพพานนั่นเอง ถ้าใช้กำลังของสมาธิอย่างต่ำ หรือถ้าทำไม่เป็นอาจิณกรรมพอ ก็อาจจะคลาดได้หากมีกรรมอื่นๆที่หนักกว่ามาริดรอน

3. กระแสหรือวิธีการฝากกระแส แยกได้เป็น
กระแสตนเองล้วน
ๆ กับ กระแสตนเองบวกกับกระแสครูบาอาจารย์ ...อย่างนี้กำลังจะมากกว่า นี่คือที่มาของบทสัพเพ หรือการกล่าวอ้างคุณพระรัตนตรัยทุกครั้งที่มีการอธิษฐาน และนี่คือเหตุผลหนึ่งที่ว่าทำไมผู้เข้าถึงพระไตรสรรคมณ์แล้ว จึงปิดทางนรกภูมิได้ เว้นแต่ได้กระทำอานันตนิริยกรรมมาก่อนหน้านี้ และเป็นเหตุผลว่าทำไมอารมณ์พระโสดาบันจึงต้องละวิกิกิจฉา คือการลังเลสงสัยในพระรัตนตรัย....

ขอบคุณที่มา : http://www.watthummuangna.com/


บทความที่เกี่ยวข้อง

ฝืนสู้กับกิเลส

การเอาชนะกิเลสมันยากนะ...ต่อสู้กันอยู่อย่างนั้นไม่เสร็จไม่สิ้น
ฝืนแบบทำหน้าเซ็งๆ...แต่ถึงไงวันนี้ก็ไม่ยอมให้มัน
ให้มันรู้บ้างว่าใครเป็นใคร

วันเสาร์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

รู้เท่าที่รู้ได้

ความตั้งใจที่มากเกินไป...
มันก็คล้ายกับการกดขี่บังคับร่างกายจิตใจให้ผิดจากธรรมชาติที่มันควรจะเป็น
แทนที่จะได้รู้ตามจริง...กลับเป็นว่ารู้เกินจริง คือไม่รู้นั่นเอง

วันจันทร์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ชีวิตเกือบจะหาไม่...ซะแล้ว

เมื่อวานเย็นหลังเลิกงาน แฟนเราไปรับที่สำนักงาน
ไปกันได้สักพักถึงบริเวณหน้ามหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งแถวถนนร่มเกล้า
รปภ.ของมหาวิทยาลัยโบกให้รถหยุดเพื่อให้รถในมหาวิทยาลัยออก
มีรถคันหนึ่งจอดอยู่ข้างหน้ารถเราอยู่แล้ว...เราก็จอดต่อเป็นคันที่สอง
เรามองกระจกหลังเห็นรถบรรทุกหนึ่งไม่มีทีท่าว่าจะเบาลงเลย
เราก็เลยกดไฟฉุกเฉิน...
หัวรถมันเบี่ยงหลบรถเราไปนิ๊ดเดียว...นิดเดียวของมัน...ครึ่งคันของเรา

พระเจ้าจ๊อด...มันหวุดหวิดจริงๆ!!

วันพุธที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2553

กิเลสนี้มันหนักหนานัก

จากที่เคยตื่นตี 3.45 มาสวดมนต์นั่งสมาธิได้
สัปดาห์นี้ทั้งสัปดาห์ทั้งสัปดาห์ ตี 4 ก็แล้ว ตี 5 ก็แล้ว มันโงหัวไม่ขึ้นเลย

วันพุธที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ประวัติเจ้าพ่อเสือ ตอนที่ ๒

สามวันผ่านไป ขบวนล่าเสือของนายปลัดโตออกตะลุยป่าหลายทิศหลายทาง ถึงจะมีคนมากก็ตาม เมื่อปลัดโตประกาศว่าจะล่าเสือ ก็ขันอาสาเข้าร่วมขบวนตะลุยพยัคฆ์ร้ายกันมาก เริ่มวันที่สี่ก็ยังไม่ได้วี่แววหรือร่องรอยเลย เป็นอันว่าปลัดโตต้องประชุมพรรคพวกกันอีกครั้ง ตกลงที่ประชุมให้ยกขบวนกลับเสียก่อนเมื่อพรรคพวกพากันกลับแล้ว ปลัดโตเท่านั้นที่ยังไม่ยอมกลับบ้าน ได้แวะไปนมัสการหลวงพ่อบุญฤทธิ์ในพระอุโบสถ และนมัสการหลวงพ่อพระร่วงในพระวิหาร วัดมหรรณพาราม อ้อนวอนหลวงพ่อทั้งสองพระองค์ ขอให้ทรงช่วยดลบันดาลจับเสือร้ายให้ได้ การจับก็ขอรับรองว่าจะไม่ฆ่าเสือเป็นอันขาด ถึงแม้เสือจะทำร้ายก็ตาม ขอให้หลวงพ่อพระร่วงทรงช่วยกล่อมใจเสือร้าย ให้กลายเป็นเสือเลี้ยงให้ได้ ถ้าจับเสือไม่ได้คราวนี้ ลูกต้องลาออกจากตำแหน่งราชการทันทีเมื่อนายปลัดโต ได้กล่าวคำพรรณนาให้หลวงพ่อฟังจนหมดสิ้นแล้ว ก็กราบนมัสการลาหลวงพ่อออกจากพระวิหาร แทนที่จะกลับไปอำเภอ เพื่อรายงานเสียก่อน แต่กลับเดินอ้อมไปทางหลังวัด ถึงต้นไม้ใหญ่ต้นหนึ่งก็นั่งพักนั่งคิดอยู่สักพักหนึ่งก็หลับไป ครั้นลืมตาตื่นขึ้นต้องสะดุ้งตกใจแทบขาดใจ เห็นเสือนอนหมอบอยู่ตรงหน้า คิดจะหนีก็หนีไม่พ้นคิดจะสู้ก็สู้ไม่ไหว เพราะเอาปืนพิงไว้กับต้นไม้ มีดก็วางไว้ห่างตัวจะลุกขึ้นเอาปืนยิงก็กลัวไม่ทันเสือ ได้แต่นั่งนึกภาวนาถึงหลวงพ่อพระร่วงขอให้ช่วยชีวิตและขอให้ทรงช่วยเปลี่ยนใจเสือให้กลับเป็นใจคน ให้รู้สึกผิดชอบชั่วดีให้จับเสือได้ง่าย ๆ เหมือนจับลูกแมว

เสร็จอธิษฐานแล้วเห็นอาการของเสือไม่มีร่องรอยแห่งความดุร้ายเหลืออยู่เลย มันทำตาริบหรี่คล้ายกลับยอมให้จับโดยดี ปลัดแกล้งขู่สำทับว่า เจ้าเสือร้ายเจ้าฆ่านายสอนใช่หรือไม่ ? เสือพยักหน้ารับว่าจริง ปลัดโตก็ว่า เจ้าเป็นตัวจริงแน่หรือ ? เสือก็ก้มหัวให้ดูแผลที่ถูกนายสอนแทงที่หน้าผาก แผลยังไม่หายมีรอยเลือดเกรอะกรังติดอยู่ที่หน้าที่ต้นคอ ปลัดก็แน่ใจว่าเป็นตัวจริง เพราะรู้ว่านายสอนแทงเสือถูกที่หน้าผากกับต้นคอ ปลัดก็เอาเชือกผูกคอเสือแล้วจูงเสือไปที่ว่าการอำเภอเมื่อถึงอำเภอก็ผูกเสือไว้กับเสา แล้วเข้าไปบอกนายอำเภอ นายอำเภอแสงตกใจร้องบอกให้ช่วยกันปิดประตูอย่าให้มันเข้ามาได้ ปลัดบอกว่ามันไม่ดุ ไม่กัดใคร ๆ ทั้งนั้น เมื่อนายอำเภอแน่ใจแล้วปลัดก็จูงเข้าไปที่ว่าการ แล้วสั่งให้ไปตามยายผ่องทันทีนายอำเภอก็เริ่มพิจารณาคดี พูดเสียงดังถามเสือว่าเจ้าฆ่านายสอนตาย แล้วเอาแขนไปกินข้างหนึ่งจริงหรือไม่ เสือก็พยักหน้ารับว่าจริง เจ้ารู้ไหมว่าอาญาแผ่นดินตราเป็นกฎมายไว้สำหรับลงโทษผู้กระทำผิด เสือก็ก้มหัวรับรู้ นายอำเภอบอกว่า เจ้าจงฟังคำตัดสินเดี๋ยวนี้ เมื่อตัดสินต้องยอมรับโทษทันที เสือก้มหัวยอมรับนายอำเภอก็แจ้งโทษให้ฟัง แล้วตัดสินประหารชีวิตทันที เสือก็ก้มหัวยอมรับโทษตามคำตัดสินลงนอนหมอบราบกับพื้นหลับตาเฉย แต่มีน้ำตาไหลซึมนายอำเภอ ปลัดโต และใคร ๆ ที่ยืนมุงดูอยู่แน่นอำเภอ เมื่อเห็นอาการของเสือเช่นนั้น ต่างก็สงสารบางคนน้ำตาไหล ไม่มีใครสักคนที่จะโกรธแค้นเสือ มีแต่สงสารไม่อยากให้นายอำเภอฆ่า เพราะมันแสดงอาการแสนที่จะสงสารฝ่ายยายผ่องเมื่อฟังคำพิพากษาตัดสินประหารชีวิตเสือ ได้เห็นอาการของมันทุกอย่าง และเห็นมันหมอบลงรับคำตัดสิน พร้อมกับเห็นน้ำตาไหลซึม อาการที่เคยโกรธเสือมาก่อน ก็พลันหายไปจนหมดสิ้นยายผ่องร้องไห้แล้วพูดกับนายอำเภอว่า ขอชีวิตเสือไว้เถิดอย่าได้ฆ่ามันเลย ฉันไม่ขอเอาเรื่องโกรธแค้นกับมันอีกต่อไปแล้ว และขอให้นายอำเภอยกเสือตัวนี้ให้เป็นลูกของฉัน แทนลูกที่ตายไปแล้ว

นายอำเภอแสงกับปลัดโต ซึ่งมีความสงสารมันเหมือนกับคนอื่น ๆ เมื่อได้ฟังคำขอร้องของยายผ่องเช่นนั้นก็รีบฉวยโอกาสตัดสินใหม่ทันที บอกกับเสือว่า จงฟังคำตัดสินใหม่ เสือก็ผงกหัวยอมรับฟัง นายอำเภอตัดสินว่า เมื่อเจ้ายอมรับผิดโดนดีแล้ว ก็ยกโทษประหารให้ แต่เจ้าต้องเป็นลูกของยายผ่องและต้องรับเลี้ยงดูแกแทนลูกชายที่ตายไปเสือก็ลุกขึ้นยืน พร้อมกับพยักหน้าอยู่หลายครั้งเมื่อเสร็จสิ้นการชำระคดีแปลกประหลาดแล้ว นายอำเภอก็สั่งปิดศาลทันทีตั้งแต่ยายผ่องได้เสือมาเป็นลูกแทนนายสอนแล้ว ก็มีความสุขยิ่งกว่าเดิมหลาบเท่า เพราะเสือมิได้อยู่เฉย ๆ เข้าป่าหาอาหาร กัดเอาหมูบ้าง เอาเก้งบ้าง กวางบ้างและจับสัตว์อื่น ๆ บ้าง เอามาให้ที่รักของมันอยู่เป็นนิจ แกก็แล่เนื้อกินบ้าง เอาเนื้อสดเนื้อแห้งขายชาวบ้านร้านค้าบ้างมิได้ขาดยายผ่องตั้งชื่อเสือว่าสอนแทนลูกที่ตายในละแวกบ้านย่านนั้นไม่มีขโมยเลย แต่ก่อนหน้าเสือมาอยู่ ข้าวของเป็ดไก่ ไร่ผักมักจะหายกันบ่อย ๆ ถ้าวันไหนคืนไหนเสือไม่เข้าป่า มันจะส่งเสียงร้องคำรามดังไปไกล ทำให้เกิดความหวาดกลัวแก่เจ้าพวกหัวขโมยไม่กล้าย่างกรายเข้าไป ชาวบ้านร้านตลาดพลอยอยู่เย็นเป็นสุขไปด้วย

วันหนึ่งเสือเข้าป่าแล้วหายไปถึงสามวันยังไม่กลับ ทำให้ยายร้องไห้คิดถึงไม่เป็นอันกินอันนอน ความทราบไปถึงนายอำเภอกับปลัด ทั้งสองคนรีบมาเยี่ยมทันที นายอำเภอขอให้ปลัดช่วยตามเสืออักครั้งเพื่อช่วยชีวิตยาย ปลัดโตก็ออกเดินทางไปเพียงคนเดียว เพราะถือว่าไม่มีอันตรายใด ๆ จากสัตว์ แล้วไปพบคนกลุ่มหนึ่งกำลังล่าสัตว์อยู่ในป่า ปลัดโตเห็นคนกลุ่มนั้นก็จำได้ว่าเป็นพวกเดียวกันทั้งนั้น ต่างก็สนทนากันอยู่สักพักหนึ่งชายกลุ่มนั้นถามปลัดโตว่ามาทำไมในป่าคนเดียว ปลัดตอบว่ามาตามเสือ ชายกลุ่มนั้นบอกว่าพวกเขากำลังไล่ล้อมยิงเสืออยู่เหมือนกัน ปลัดถามว่าเสือมีลักษณะอย่างไร เมื่อได้รับคำตอบแล้ว ปลัดบอกว่าเป็นเสือตัวเดียวกันกับที่ตนกำลังตามหาและขอร้องมิให้ยิงชายกลุ่มนั้นบอกว่าตามล่ามันมาสามวันแล้ว เพราะเสือตัวนี้ดุร้ายมากเป็นอันว่าชายกลุ่มนั้นรับคำว่าไม่ล่าเสือตัวนี้อีก อีกสักครู่หนึ่งเขาเหล่านั้นเห็นเสือวิ่งลัดพุ่มไม้อยู่ข้างหน้า ปลัดก็ออกตามตะโกนเรียกชื่อมันอย่างดัง บอกกับเสือว่าให้รีบกลับบ้านโดยเร็ว เพราะยายผ่องเสียใจมากกำลังรออยู่ที่บ้านไม่ต้องกลัวใครยิงอีกแล้วสักครู่ใหญ่เสือก็มาถึงตรงไปหายายเห็นแกเป็นลม มันก็หมอบเอาคางเชยที่เท้า ยายผ่องได้สติฟื้นขึ้นมองเห็นเสือก็ดีใจเอามือลูบหัวแล้วถามมัน ปลัดก็เล่าเรื่องที่โดนนักล่าสัตว์คอยดักยิงมันต้องหนีเตลิดเข้าป่าลึกเพื่อเอาตัวรอด มิเช่นนั้นก็ถูกยิงตายแน่

เสืออยู่กับยายผ่องประมาณเจ็ดปี ยายก็ถึงแก่กรรม เมื่อมันเห็นยายแม่ของมันเป็นลมตายเสียแล้ว มันก็ส่งเสียงร้องไม่หยุด เมื่อครบสามวันแล้วจึงช่วยกันเผา จัดทำเชิงตะกอนเตี้ย ๆ ขนเอาฟืนมามาก เผาศพเป็นกองไฟใหญ่ เผากันจริง ๆ ใครมีฟืนเท่าไรก็เผาจนหมดในระหว่างไฟกำลังโหมลุกเต็มที่อยู่นั้น เสือซึ่งมีอาการหงอยเหงาเศร้าซึมมาหลายวันแล้ว น้ำตาไหลเป็นทางมันจะนึกอย่างไรไม่ทราบ ก็ออกวิ่งวนไปรอบ ๆ กองไฟ ไม่รู้ว่ากี่รอบ ส่งเสียงร้องอยู่เรื่อย วิ่งไปร้องไป และขณะร้องคร่ำครวญอยู่นั้น ได้กระโจนเข้ากองไฟที่กำลังลุกโชติช่วง ถูกไฟเผาดิ้นทุรนทุรายอยู่ครู่หนึ่งก็ตายตามที่แม่รักไปยอมพลีชีพบูชาแม่ด้วยชีวิต ซึ่งอาจมีมนุษย์จำนวนน้อยนิดเท่านั้น จะกล้าเสียสละอย่างนี้ได้ ทำให้คนตกใจส่งเสียงร้องด้วยความหวาดเสียวและสงสาร๗ วันผ่านไป การเผาศพระหว่างแม่ผู้เป็นมนุษย์กับลูกผู้เป็นสัตว์ ชาวบ้านรวมทั้งนายอำเภอแสงกับปลัดโตปรึกษากันว่าจะสร้างศาลให้เสือ ผู้มีความจงรักภักดีต่อแม่เฒ่าผ่อง ถือว่าเป็นสัตว์พิเศษกว่าสัตว์ทั้งหลาย เพราะร่างกายกับชีวิตเท่านั้นที่เป็นเสือ แต่ดวงจิตสูงส่งเป็นอัจฉริยะจิต สถิตด้วยแสงธรรมการสร้างศาลประดิษฐานรูปเสือ ผู้คนสละทรัพย์สละแรงงาน ร่วมแรงร่วมใจกันเป็นจำนวนมาก สร้างใกล้ ๆ บริเวณหน้าวัดมหรรณพาราม เอากระดูกเสือบรรจุในแท่นปั้นรูปประดิษฐานบนแท่นอย่างสง่าน่าเกรงขาม อัญเชิญดวงวิญญาณเสือ ขอให้เป็นเทพเจ้าสิงสถิต ณ ศาลวิมานทองแห่งนี้ตลอดกัลป์เป็นนิรันดร ขอให้ปกปักรักษาประชาราษฎร์ให้อยู่ร่มเย็นเป็นสุข ทำมาหากินซื้อง่ายขายคล่อง เจริญสุขทุกทิวาราตรีเมื่อฉลองเสร็จแล้วติดแผ่นป้ายไว้ที่หน้าศาลจารึกชื่อว่า ศาลเจ้าพ่อเสือ

ขอบคุณข้อมูล : พุทธสถานจีเต็กลิ้ม

ประวัติเจ้าพ่อเสือ ตอนที่ 1

ในอดีตกาลประมาณ ๑๕๐ ปี ต้นสมัยแผ่นดินพระนั่งเกล้า ฯ รัชกาลที่ ๓ กล่าวถึงการสร้างวัดมหรรณพารามเสียก่อน เพราะเกี่ยวโยงกับประวัติเจ้าพ่อเสือ (เฮียงบู้)

วัดมหรรณพ์สร้างเมื่อสมัยรัชกาลที่ ๓ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า ฯ ผู้สร้างคือ กรมหมื่นอุดมรัตนราษี ( พระองค์เจ้าอรรณพพระราชโอรสในสมเด็จพระนั่งเกล้า ) สถานที่สร้างวัดยังเป็นป่า บริเวณหลังวัดมหรรณพ์ ยังมีสัตว์อาศัยอยู่เช่น เสือปลา เสือบอง อีเห็น กระต่าย งูเหลือม งูหลามเป็นต้น มีหมู่บ้านเล็ก ๆ อยู่แห่งหนึ่ง โดยมากมีฐานะยากจน ยายผ่องกับนายสอนลูกชาย อยู่ด้วยกันเพียงสองคนแม่ลูกเท่านั้น นายสอนเป็นลูกที่มีความกตัญญูต่อแม่บังเกิดเกล้ายิ่งนัก สองชีวิตต้องทนอยู่กับความยากลำบาก ต้องผจญชีวิตกับอาชีพที่ไม่เป็นแก่นสารแบบหาเช้ากินค่ำนายสอนลูกชายยายผ่องเป็นไข้มา ๖ - ๗ วัน เมื่ออาการค่อนข้างทุเลาบ้างแล้วก็เตรียมตัว จะเข้าป่า เพื่อหาหน่อไม้ เก็บผักหักฟืนตามเคย ถึงตัวจะลำบากยากเข็ญอย่างไรก็ไม่ท้อถอย ตนก็เอาหาบขึ้นบ่าพร้อมทั้งมีดกับเสียม ออกจากเรือนเข้าป่าทันที

ชะตาร้ายกำลังเดินตามหลังนายสอนมาทุกย่างก้าว สถานที่เคยมีผักมีหน่อไม้มีฟืนก็ไม่มีเลย คิดว่าพรุ่งนี้จะต้องตัดไม้เผาถ่าน เมื่อเดินกลับเห็นกวางตายอยู่ตัวหนึ่ง เพิ่งตายใหม่ ๆ ยังไม่เน่าแกคิดด้วยเชาว์ไวว่า กำลังตกอยู่ในระหว่างอันตรายแล้ว เพราะกวางนี้ถูกเสือกัดตาย กินเนื้อยังไม่หมด มันต้องพักอยู่ในบริเวณใกล้ ๆ เจ้ากวางตัวนี้แน่ แต่อยากจะได้เนื้อเอาไปฝากแม่สักก้อนหนึ่ง เมื่อคิดดังนั้นแล้ว ก็ตัดความกลัวออกไป ตรงเข้าไปเอามีดเฉือนเนื้อโคนขาไปสองก้อน เอาใบบอนห่อแล้วเอาผ้าขาวม้าห่ออีกชั้น แล้วเอาคาดสะเอว รีบฉวยหาบขึ้นบ่าเดินเลาะไปตามริมหนองเพื่อเก็บสายบัว

ทันใดนั้นนายสอนต้องสะดุ้งสุดตัว เพราะเจอเข้ากับเสือใหญ่อย่างจัง เมื่อมันเห็นนายสอนยืนอยู่ใกล้หนองน้ำนายสอนเห็นดังนั้น ก็ชักมีดเหน็บปลายแหลมออกเตรียมป้องกันตัว จะหนีก็ไม่พ้น จำใจต้องสู้แม้จะตายก็ไม่เสียดายชีวิต เป็นห่วงแต่แม่คนเดียวเท่านั้นเจ้าเสือเห็นได้จังหวะก็เผ่นเข้ากัดทันที นายสอนก็เอี้ยวตัวเอามีดแทงถูกที่ต้นคอ เจ้าเสือยิ่งโกรธจัดเพราะถูกแทงจนเลือดสาด มันเผ่นเข้าใส่อย่างบ้าเลือด นายสอนหลบไม่ทัน จึงจ้วงแทงไปตรงหน้าเสือ ถูกที่แสกหน้าอย่างจัง เจ้าเสือถูกแทงถึงสองแผลแล้ว มันก็แผดเสียงลั่นด้วยโทสะของมัน แล้วก็เผ่นเข้าใส่นายสอนอย่างรวดเร็ว ไหนจะทานกำลังของมันได้ จึงเสียทีถูกมันฟัดอย่างเต็มที่ แล้วก็ฟัดเหวี่ยงเต็มที่ จนแขนขาดติดอยู่ที่ปากของมัน

นายสอนเห็นเช่นนั้นก็ลุกวิ่งโดดลงไปในหนอง แล้วดำน้ำหนีไปอยู่กลางหนอง เจ้าเสือก็ออกวิ่งตามไป เมื่อมันเห็นว่าจะทำอะไรนายสอนไม่ได้ มันก็กลับเอาแขนของนายสอนกินจนเกลี้ยง แล้วก็บ่ายหน้าเดินตรงไปที่ซากกวางของมันอีกครั้งเมื่อนายสอนเห็นเสือไปนานแล้ว แน่ใจว่ามันคงไม่กลับมาอีก จึงขึ้นจากหนองน้ำหาทางลัดรีบกลับบ้าน ประมาณสองยามก็ถึงบ้านแต่อาการหนักมาก นายสอนนอนสลบอยู่แถว ๆ รั้วบ้านของตนเองยายแผ้วเป็นน้องของยายผ่อง เป็นห่วงพี่สาวของตน เพราะยายผ่องร้องไห้ไม่หยุดเป็นลมหลายครั้งเพราะเป็นห่วงลูก

วันรุ่งขึ้นเช้ามืด ยายแผ้วเตรียมต้มข้าวต้ม เสร็จแล้วก็ออกจากบ้านเอาไปให้พี่สาวของตนกิน เมื่อจวนจะถึงประตูรั้ว เห็นคนนอนตะแคง มีเลือดเกรอะกรังไปทั้งตัว ก้มลงมองดูหน้า จำได้ว่าเป็นนายสอนหลานของแก จึงรีบเข้ารั้วขึ้นเรือน ตะโกนบอกยายผ่องว่า สอนกลับมาแล้วแต่นอนสลบอยู่นอนรั้ว

ยายผ่องได้ยินว่าลูกกลับมาแล้ว แกก็ลุกจากที่นอนรีบเดินไปหาลูกทันที ยายแผ้วก็เรียกชาวบ้านให้ช่วยกันหามนายสอนขึ้นบนเรือน แล้วให้หลานชายไปตามหมอคล้ายมาบำบัดปัดรังควานโดยเร็ว ประมาณครึ่งชั่วโมงนายสอนก็ฟื้นเบื้องต้นนายสอนก็แก้ผ้าขาวม้าออกจากสะเอว แล้วส่งให้ยายผ่อง บอกให้แม่เอาเนื้อกวางไป แม่เฒ่าถามว่าได้เนื้อมาจากไหน นายสอนก็เล่าเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับตนจนละเอียด อีกสองชั่วโมงต่อมานายสอนก็ถึงแก่ความตายยายผ่องเป็นหญิงชราอนาถาไร้ที่พึ่ง แกก็ต้องดิ้นรนหาทางช่วยชีวิต ตามแบบและสติปัญญาของแก คุณยายได้ไปที่ว่าการอำเภอ ขอร้องให้นายอำเภอจับเสือมาลงโทษให้ได้ นายอำเภอแสงผู้พิทักษ์มวลชนได้ยินยายผ่องขอให้จับเสือมาทำโทษแทนลูกของแก ก็นึกแปลกใจ ตั้งแต่เป็นนายอำเภอมาหลายปี ยังไม่เจอกับคดีเช่นนี้ เมื่อนายอำเภอเห็นว่า แกพูดถูกและสงสารแกมาก จึงรับปากว่าจะจับเสือมาทำโทษให้ตามความประสงค์ แล้วให้คนไปตามปลัดโต ซึ่งมีความรู้ความสามารถและปฏิบัติหน้าที่ดีที่สุดมาหาทันที เมื่อปลัดโตไปหานายอำเภอก็แจ้งเรื่องให้ทราบ ปลัดโตก็รับปากทันที

เชื่อมั่น

หากเราเชื่อมั่นมุ่งตรง...ปฏิบัติตามคำสอนขององค์ศาสดา
ละทิ้งวิจิกิจฉาที่มาคอยทำให้สั่นคลอน
ไม่ว่าเราจะทำสิ่งใดอยู่...

จงเชื่อมั่นได้เลยว่ามันจะสำเร็จในวันใดวันหนึ่งแน่นอน

วันศุกร์ที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2553

อดีต..อนาคต..ปัจจุบัน

อดีต...เป็นเรื่องที่ผ่านมาแล้ว เป็นการกระทำที่ผ่านพ้นไปแล้ว
หากเป็นเรื่องดี...เวลาที่คิดถึงใจมันก็ฟูๆ
หากเป็นเรื่องไม่ดี...เวลาที่คิดถึงใจมันก็ฝ่อๆ
แล้ว...จะคิดถึงให้ใจฟู..ให้ใจฝ่อ..ไปเพื่ออะไร

อนาคต...เป็นเรื่องที่ยังมาไม่ถึง แต่ก็พอประเมินได้จากการกระทำในปัจจุบัน
หากอยากมีอนาคตที่ดีๆ...ควรเริ่มต้นสร้างเหตุปัจจุบันให้ดี
หากเพียงหวังอยากให้อนาคตดีโดยไม่ต้องลงแรงกระทำสิ่งที่ดี
แล้ว...อนาคตมันจะดีได้อย่างไร

ปัจจุบัน...คือสิ่งที่กำลังคิด กำลังทำ
ปัจจุบันคืออนาคตของอดีต...
หากปัจจุบันของตัวเองยังไม่ดี...ก็รู้ได้ไม่ยากว่าอดีตนั้นตัวทำไว้ไม่ดีเท่าไหร่
อาจจะอยากให้มันดี...แต่ไม่ได้ลงแรงทำดีให้เท่าที่อยาก

เพราะฉะนั้น...ไม่ต้องคิดแล้วถึงอดีตที่ล่วงไป...กับอนาคตที่ไม่เคยมาถึง
ลงแรง..ลงใจ..ทำปัจจุบันขณะนี้ให้ดีทั้งกาย วาจา และใจ
รู้อยู่ตรงปัจจุบันขณะ..ตั้งสติระลึกไว้ตรงนี้...ตรงนี้เท่านั้น..ทำอะไรอยู่ก็รู้...
จักหวังผลได้ว่าเราจะมีอนาคตที่ดีแน่นอน

วันพฤหัสบดีที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ฟังหลวงปู่เณรคำเทศนาสั่งสอน (2)

8/15




9/15




10/15




11/15




12/15




13/15




14/15




15/15


ฟังหลวงปู่เณรคำเทศนาสั่งสอน (1)




ฟังหลวงปู่เณรคำเทศนาสั่งสอน...


2/15




3/15




4/15




5/15




6/15




7/15


แก้ไขการทำแท้ง

หลีกเลี่ยงภาษี

แรงกตัญญู

วันอังคารที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ฝึกเจริญสติ

เราฟังธรรมออนไลน์เรื่องการดูจิตของหลวงพ่อปราโมทย์ ปราโมชโช
ฟังแล้วก็ลองมาฝึก...ช่วงแรกๆ เหมือนจะง่ายแต่ก็ไม่ง่าย เพราะก็หลงกันทั้งวัน
อ่านหนังสือของคุณดังตฤณ...ซึ่งเป็นการเจริญสติ และแนวทางปฏิบัติ
และฟังเทศน์จากเว็บฟังธรรมออนไลน์ของหลวงพ่อพุธ...
แล้วก็เอามาผสมผสานประยุกต์เข้าด้วยกัน...
เพราะเป็นแนวทางที่สามารถไปด้วยกันได้...สำหรับเราคิดว่างั้นนะ

ฝึกอย่างไร...เราใช้วิธีรู้เวลาเราหายใจเข้าออก...เท่าที่จะรู้ได้
รู้ความรู้สึก...เท่าที่จะรู้สึกได้

บางวันเผลอไปทั้งวันก็มี...มานึกขึ้นได้อีกที..ก็หมดวันซะละ

สรุปได้ว่า...หากจะเจริญวิปัสนาไปอย่างเดียวเลย...ทำไม่ได้
เจริญสมถกรรมฐานอย่างเดียวเลย...ก็ทำไม่ได้อีก
เพราะเราต้องมีจิตใจที่ตั้งมั่น และมีสติพร้อมกันไปด้วย

ช่วงนี้สติไวขึ้นมาหน่อย...
เวลาโกรธรู้ว่าโกรธแต่บางทีมีพลั้งหลุดไปก่อนแล้วถึงจะรู้ทัน
(นี่เรียกว่าสติไวขึ้นมาแล้วนะคะ..ถ้าไม่ไวจะยังไงเนี่ย)
แต่เราจะหายโกรธได้ทันทีที่รู้ตัว...ไง

ยังต้องฝึกกันต่อไป

ตั้งใจ..เพื่อสัจจะ

พออายุมากขึ้นๆ การนั่งสมาธิมันชักลำบากนะคะ (ตอนนี้ก็ปาเข้าไป 35 ละ)
เคยตั้งใจจะนั่งสักครึ่งชั่วโมงยังไม่ได้เลย...
บางทีลืมตาขึ้นมาดูเวลาเหลืออีกแค่นาทีก็ทนไม่ไหว

รู้สึกว่าเราชักเหยาะแหยะเหลวไหลไม่ได้ความ
เมื่อวานเลยลองตั้งใจนั่งให้ได้ 2 ชั่วโมง
สวดมนต์และตั้งสัจจะว่าถ้ายังไม่ถึง 2 ชั่วโมงจะไม่ลุกเด็ดขาด
ไม่ได้คิดถึงว่าจะได้สมาธิหรือไม่อย่างไร
แค่รักษาสัจจะนี้ให้เป็นเบื้องแรก...
ก่อนที่จะไม่มีสัจจะใดเลยที่ตัวเองสามารถรักษาไว้ได้

อืมม...ชั่วโมงแรกผ่านได้ด้วยดีค่ะ
พอสักพักความปวดเมื่อยเริ่มเข้ามาเบียดเบียนสังขารนี้
ต้องสู้กันระหว่างจิตใจ กับความปวดเมื่อย
พระเก่งๆ หลายท่านบอกว่ากายนี้ไม่เที่ยง..ไม่ใช่เรา
มาลองดูกันว่ามันไม่ใช่เราจริงรึเปล่า
เราก็เอาจิตเข้าจับตรงที่ปวด..
แรกๆ ก็เห็นว่ามันคนละส่วน...จิตส่วนหนึ่ง กายส่วนหนึ่ง
แต่ความปวดกับกายยังอยู่ด้วยกัน..ยังแยกไม่ได้
ดูเข้าไปตรงความปวดกับสังขารตัวเอง..ก็ยังแยกไม่ได้
ความเขลาเบาปัญญาของเราหนอ
นานเข้าๆ พระท่านบอกว่าเดี๋ยวมันก็หายไป
ไม่เห็นมันจะหายไปจากเรา...ขาก็ยังปวดอยู่นั่นเอง
เฮ้อ...! ถอนหายใจให้กับความโง่ของตัวอีกครั้ง

สักพักเสียงนาฬิกาปลุกดังขึ้น...อิอิ
เหมือนสวรรค์มาโปรด...
เรานั่งได้ครบ 2 ชั่วโมงตามสัจจะที่ตั้งไว้
ครั้งนี้ทำได้...เดี๋ยวก็ทำได้ดีขึ้นเองแหละ
ให้กำลังใจตัวเองไว้

วันจันทร์ที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

รู้จักกับการปฏิบัติธรรมครั้งแรก

จำไม่ได้ว่าตอนนั้นเรียนอยู่ ปวช. ปี 1 หรือ ปี 2
น่าจะเป็นช่วงปลายปีของภาคการศึกษานั้นแล้ว
มีเพื่อนที่เป็นกัลยาณมิตร 2 คน มาชวนให้ไปเข้าคอร์ส
ปฏิบัติธรรมกับคุณแม่ ดร.ศิริ กรินชัย
เพื่อนมาชวนหลายครั้ง...แต่ฉันก็ตอบปฏิเสธไปทุกครั้ง
"ไม่เอา...ไม่ไป...ต้องไปอยู่ตั้งหลายวัน..ตายแน่"
จนกระทั่งทนเพื่อนเซ้าซี้ไม่ไหว...จึงตอบตกลงแบบเสียไม่ได้

สร้างความประหลาดใจให้กับอาจารย์หลายๆ ท่าน
ที่เห็นเราเข้าร่วมปฏิบัติธรรมครั้งนั้น

เป็นการปฏิบัติธรรมครั้งแรกที่ทรมานมาก
ฉันไม่เห็นความสุข...ไม่มีความสนุกที่ตรงไหนเลย
แต่ก็พยายามตั้งใจมากที่สุด...(เท่าที่จะทำได้)

ถือว่าเป็นการเริ่มต้นที่ดีค่ะ...เพราะเป็นคอร์สที่อัดเต็มที่มากๆ
ฉันแอบไปนอนหลับกลางวันตั้งสองสามครั้ง..แหะๆ
ไม่เคยตื่นเช้ามืดขนาดนั้นนี่...ร่างกายมันทนง่วงไม่ไหวจริงๆ ค่ะ

แล้วก็ผ่านครั้งนั้นแบบ...เฮ้อ! จบซะที
ได้ถ่ายรูปกับคุณแม่ ดร.ศิริ กรินชัย ไว้เป็นที่ระลึกหนึ่งรูป
แต่เก็บไว้ที่ไหนแล้วก็ไม่รู้

เมื่อมีครั้งที่หนึ่ง ครั้งที่สอง สาม สี่....มันก็ตามมา
เริ่มใช้วัดเป็นสถานที่พักใจมากกว่า...ยังไม่เห็นสัจธรรมทางโลกเท่าไหร่
อกหัก..ก็เข้าวัด
เหนื่อยกับโลก...ก็เข้าวัด
ไปเอง...หาเองไม่ต้องมีใครชวนละ
ไปคนเดียวก็ไป...นอนคนเดียวก็นอน
กลัวไหมก็มีกลัวบ้าง...แต่ทำใจดีสู้เสือเอาไว้

เกิดมาทำไม..?

เกิดมาทำไม..? คำถามนี้เชื่อว่าหลายคนคงเคยถามกับตัวเอง
ฉันจำไม่ได้ว่าคำถามนี้เกิดขึ้นมานานเท่าไหร่แล้ว...
เมื่อลองนึกย้อนเข้าไปถึงความรู้สึกเมื่อตอนเกิดคำถาม
ตอนนั้นมันรู้สึกหดหู่และเศร้าๆ พิกล
จากที่เคยใช้ชีวิตมาอย่างปกติชนคนทั่วไป...กินเที่ยวเล่นทำงานไปตามประสา
จนกระทั่งวันหนึ่งไม่รู้สมองมันมาลำดับเหตุการณ์จากตรงไหน
คิดถึงวันที่ตัวเองต้องตายไป...
ความคิดมันก็วูบมาตรงปัจจุบันว่าแล้วเราจะทำทุกอย่างไปเพื่ออะไร?
มันไร้สาระสิ้นดีที่จะต้องเกิดมาแล้วก็ทำๆ ไปตามเหตุผลของอะไรก็ไม่รู้
แล้ววันหนึ่งก็ไม่เหลืออะไรแม้แต่ชีวิตตัวเอง

ทำไมต้องมาทนเหน็ดเหนื่อยเรียนหนังสือตั้งหลายปี
ให้พ่อให้แม่ต้องมาลำบากเหนื่อยยากหาเลี้ยงเราเพื่อว่าวันหนึ่งก็ต้องตาย

ทำไมต้องมาทนเหน็ดเหนื่อยทำงานหาเงินเพื่อซื้อหาซื้อกิน
วนเวียนเป็นวงกลมอยู่เพื่อวันหนึ่งก็ต้องตาย

ทำไมต้องมาแก่งแย่งชิงดีชิงเด่นเพื่อหน้าตา เพื่อเกียรติยศบ้าบอ

งั้นตายซะเลยดีกว่า!

แต่เคยรู้มาว่าการฆ่าตัวตายเป็นบาปมหันต์
ต้องเกิดแล้วตาย เกิดแล้วตายไม่รู้อีกเมื่อไหร่จะจบสิ้น
พุทธศาสนาสอนไว้ว่า ชีวิตนี้มีอดีต มีปัจจุบัน มีโลกนี้ มีโลกหน้า
เราเคยเกิดมาแล้วนับชาติไม่ถ้วน...!

ถ้าต้องเกิดมาอีก...แค่คิดก็ทรมานจะตายแล้ว

แล้วจะทำอย่างไร?...
ทำอย่างไรถึงจะไม่ต้องเกิดอีก...

ทางเดียวที่นึกได้ต่อมาก็คือ...
"ต้องปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้า"

เราจะทำได้มากน้อยแค่ไหน...ไม่ต้องคำนึง
เป้าหมายคือ "นิพพาน" ตายแล้วไม่ต้องเกิด..พอแล้ว
หวังมากไปไหม...?
ควรจะหวังเท่านี้ไม่ใช่หรือสำหรับชีวิตนี้ที่ได้พบพระพุทธศาสนา
แล้วค่อยๆ ก้าว ค่อยๆ สะสมไปทีละนิดทีละหน่อย
ตามแต่กำลังบุญของตัว..ก็น่าจะถึงได้สักวัน